วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer virus) หรือเรียกสั้นๆ ในวงการว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยี
ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก


บูตไวรัส

บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น







มาโครไวรัส
มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น



โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง


หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น






ประวัติ
ในปี
พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1969) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ
ต้นปี
พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"
ปี
พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้
ปี
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา
ปี
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้
ปี
พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club"
ปี
พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า)
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเขาไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสมาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย
ปี
พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ



คำจำกัดความ
ไวรัสเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถแพร่ขยายตัวเองได้ วิธีการในการจำแนกว่าส่วนของโปรแกรมนั้นเป็นไวรัสหรือไม่ นั้นดูจากการที่โปรแกรมสามารถแพร่กระจายตัวได้โดยผ่านทางพาหะ (โฮสต์)
บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนำพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น
เนื่องจากไวรัสในปัจจุบันนี้ได้อาศัยบริการเครือข่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล และระบบแฟ้มข้อมูลร่วมในการแพร่กระจายด้วย จึงทำให้ความแตกต่างของไวรัสและเวิร์มในปัจจุบันนั้นไม่ชัดเจน ไวรัสสามารถติดพาหะได้หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ แฟ้มข้อมูลที่สามารถปฏิบัติการได้ของซอฟต์แวร์ หรือส่วนระบบปฏิบัติการ ไวรัสยังสามารถติดไปกับบู๊ตเซคเตอร์ของแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ แฟ้มข้อมูลประเภทสคริปต์ ข้อมูลเอกสารที่มีสคริปต์มาโคร นอกเหนือจากการสอดแทรกรหัสไวรัสเข้าไปยังข้อมูลดั้งเดิมของพาหะแล้ว ไวรัสยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมในพาหะ และอาจทำการแก้ไขให้รหัสไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานเมื่อพาหะถูกเรียกใช้งาน

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เกร็ดความรู้ เรื่องพิธี "พระศพ"




1.สางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย สางพอเป็นสัญลักษณ์พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ อีกแล้ว เป็นเครื่องหมายว่าหมดประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว และเมื่อหักสางทิ้งไปแล้ว ก็จะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเพณีของประชาชนด้วย ที่แสดงว่าจะไม่ได้ใช้สางนั้นอีกต่อไปแล้วจึงต้องหักทิ้งไป
2.เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพร
ะอิสริยยศที่แตกต่างกัน * ฉัตร 9 ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว * ฉัตร 7 ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี * ฉัตร 5 ชั้น : สมเด็จเจ้าฟ้า ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้นจะเรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" หมายถึงฉัตรขาวที่มีเพดาน 5 ชั้น
ขั้นตอนเมื่อเชิญพระศพมายังพระบรมมหาราชวังแล้ว จะเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้จะเป็นวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระอัครมเหสี และเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง แต่ในระยะหลังจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพ ในการสรงน้ำพระศพ เมื่อสรงน้ำพระศพที่พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้วจึงจะอัญเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การประดิษฐานพระศพตามราชประเพณีอยู่ทางมุขด้านตะวันตก พระโกศสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าจะใช้พระโกศทองใหญ่ และใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด มุขด้านใต้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) ซึ่งพระพุทธประจำพระชนมวารของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์ งานหลังจากนี้ต่อไปจนถึง 100 วัน จะเป็นการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมจะเป็นงานที่ใช้เฉพาะงานหลวง จะสวดทั้งวันทั้งคืน มีการย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย 3.ประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่ 06.00 น. 09.00 น. 12.00 น. ไปจนถึง 24.00 น. เพื่อบอกเวลาว่าครบ 3 ชั่วโมง ก็จะประโคมขึ้นหนึ่งครั้ง ส่วนการสวดพระอภิธรรมจะสวดทั้งวันทั้งคืน แต่จะมีเวลาพักเว้นระยะเป็นช่วงๆ อาจจะหยุดพักสัก 10-15 นาที ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายชั้นสูงขึ้นไป โดยหลักคิดก็จะไม่แตกต่างกับการจัดงานศพของประชาชนทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนา แต่อาจจะเพิ่มรายละเอียด ปริมาณและคุณภาพเข้ามา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพที่จะจัดงานนอกจากนี้จะมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน พิธีกรรมก็จะเหมือนกัน นั่นคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สดับปกรณ์ (บังสุกุล) 4.สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น "เจ้าฟ้า"ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ พระศพ จะแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า พระศพ ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า"พระบรมศพ"ส่วนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตามราชประเพณีจะสร้างพระเมรุในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม เมษายน ทั้งนี้แล้วแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ



พระโกศ คือ โกศข้างในที่เป็นสีทองเกลี้ยง ๆ ทรงกระบอกปากผายมีฝาปิด ยอดไม่แหลมมาก ไม่มีการประดับประดาตกแต่งใด ๆ แต่เท่าที่เคยเห็นภาพพระโกศของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ดูเหมือนว่าแม้ว่าพระโกศชั้นในจะเป็นทองดูไกล ๆ เห็นไม่มีลวดลายอะไร แต่หากดูใกล้ ๆ จะเป็นลายทองคำเป็นรูปหลายเหลี่ยมประกอบกันทั้งองค์ นี่แสดงว่าพระโกศข้างในไม่ได้แค่ปิดทองเกลี้ยง ๆ แต่มีลวดลายด้วยส่วนพระลองทองใหญ่ที่ใช้ในงานสมเด็จกรมหลวงฯ เป็นพระโกศประดับภายนอกชั้นสูงสุดของโกศทั้งมวล ใช้พระโกศนี้ทรงพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายชั้นสูง ในกรณีสมเด็จกรมหลวงฯถือเป็นกรณีพิเศษที่มีการจัดการพระศพสูงสุดเหนือกว่าพระอิสริยยศของพระองค์ ทั้งเครื่องสูงประกอบพระเกียรติยศก็เป็นเครื่องสูงหักทองขวาง (ตามพระยศปกติจะใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด ถ้าผมจำไม่ผิด) แต่ก่อนขั้นตอนการเตรียมจัดการพระบรมศพหรือพระศพหรือกระทั่งศพที่ใส่โกศจะมีการรูดศพด้วย นั่นคือก่อนการออกพระเมรุ จะมีการนำศพ (ใช้คำนี้เป็นกลาง ๆ แล้วกันนะครับ) ออกจากโกศ แล้วนำมาทำการต้มในกระทะใบบัว (ซึ่งก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันว่าเป็นยังไง แต่คิดว่าคงจะขนาดใหญ่ใช่ย่อย) ซึ่งจะมีการใส่ชะลูดซึ่งเป็นไม้หอมลงไปต้มพร้อมกัน ชะลูดจะช่วยกลบกลิ่นศพได้ จากนั้นแล้วจึงแยกกระดูกออกมาใส่โกศไว้ดังเดิม ส่วนชิ้นส่วนเนื้อศพที่หลุดออกจากกระดูกนั้นก็จะเคี่ยวในกระทะจนแห้งแล้วนำไปเผาแยกต่างหาก มาดูที่โกศกันบ้าง จริง ๆ แล้วที่ฐานโกศน่าจะสามารถเปิดออกได้คล้าย ๆ ฝารองข้างล่างและมีรูสำหรับปล่อยบุพโพ (น้ำเหลือง) ให้ไหลลงไปตามท่อสู่ถ้ำบุพโพ และคิดว่าฐานโกศน่าจะมีลักษณะเป็นตาข่ายลวดเพื่อให้ไฟสามารถเผาเข้าไปข้างในขณะเผาได้ ส่วนของถ้ำบุพโพปกติจะมีการใส่เครื่องหอมไว้ด้วย บุพโพนี้จะมีการนำไปเผาพร้อมกับส่วนของศพที่เคี่ยวจนแห้งแล้วขณะเมื่อจะทำการเผาศพในโกศสำหรับเจ้านายนั้นมีการถวายรูดกันเรียบร้อย การเผาจะไม่อยากเย็นอะไร เพราะเหลือเพียงกระดูกสำหรับเผาเท่านั้น ตอนเผาจะมีการเปิดฝาโกศทั้งข้างบนและข้างล่าง ไฟจะลามเข้าไปข้างในได้ ในงานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมศพไม่ได้มีการถวายรูด เพียงแค่มีการถวายพระเพลิงพระบุพโพเท่านั้น การถวายพระเพลิงครั้งนั้นน่าจะใช้เวลานานทีเดียว เพราะพระบรมศพอยู่ภายในพระโกศด้วย เพลิงน่าจะลามเข้าไปได้ยากพอสมควร นี่คือเท่าที่ผมทราบจะครับ หากผิดถูกประการใด ช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ







ตามพระราชฐานะแล้วจะได้พระราชทานพระโกศทองน้อยหรือเปล่าไม่แน่ใจ ไม่ก็เป็นพระโกศกุดั่น อะครับ แต่ในหลวงทรงพระราชทานพระเกียรติสูงสุดจึงมีการถวายพระโกศทองใหญ่ซึ่งเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบันและถวายฉัตร7 ชั้นกางกั้นพระศพ สำหรับพระโกศทองใหญ่เนื่องจากทำจากไม้สักทองเป็นแกนกลางหุ้มด้วยทองคำแท้แผ่เป็นแผ่นทองคำหนาเท่าไหร่จำตัวเลขไม่ได้แล้วหุ้มไม้สักมีการตอกสลักดุนลายประดับรัตนชาติต่างๆ เช่นเพชร และมีเครื่องประกอบอื่นๆ เช่น พุ่มดอกไม้เพชร ดอกไม้เอว และเฟื่องเพชร พู่เงินซึ่งงานออกพระเมรุคราวนี้พู่เงินองค์ นึง หลุดร่วงระหว่างการอัญเชิญโกศบนพระยานมาศ 3 ลำคาน สำหรับที่เจ้าของกระทู้ถามเรื่องการถวายพระเพลิงแบบโบราณทำอย่างไร คือถ้าละเอียดมันมีปรีกย่อยเยอะ มากเอาแบบคร่าวๆนะครับ ฐานของพระจิตตกาฐานนั้นเป็นไม้ครับ โครงหลักเช่นเสา เป็นเหล็ก แล้วเรือนยอดทำเป็นหลังคาลดชั้นเช่นเดียวกับฉัตร ถ้าสังเกตจะเห็นว่า พระโกศไม้จันท์วางอยู่บนฐานพระโกศ(จริงๆก็คือหีบพระศพ) วางบนตะแกรงเหล็กอีกทีหนึ่งเช่นเดียวกับที่เราเห็นเชิงตะกอนชาวบ้านทั่วไป หรืองาน พระราชทานเพลิงศพที่ตั้งแต่งโกศ เช่นเดียวกัน กับที่เราเห็นในข่าวพระราชสำนักครับ เพียงแต่คราวนี้ มีขนาดใหญ่กว่าปกติมากครับ ข้างใต้ของพระโกศก็จะมีท่อนไม้จันท์กลึงให้กลมปิดทองประดับลาย ที่ท่อนไม้นั้น วางขัดกันไว้ใต้ฐานพระโกศเวลาถวายพระเพลิงจริงก็จะแปรท่อนจันท์ในลักษณะเพื่อการสุมไฟแล้วก็ใส่ไฟแล้วก็เผาเลยครับ เพราะพระโกศไม้จันท์โดยปกติแล้วจะถวายไปพร้อมกับพระศพด้วยเลยไม่เก็บไว้ครับ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเอาพระโกศทองใหญ่มาเผานะครับ เพราะ พระโกศทองใหญ่ได้ถูกเปลื้องออกแล้วเหลือแต่พระลองใน(ทำจากเหล็กหรือเงิน แล้วแต่ฐานะ) แล้วจึงประกอบพระโกศจันท์เข้าไปอีกทีครับ เวลาถวายพระเพลิง พระศพจึงอยู่ในพระลองในที่เป็นโลหะปิดทองซึ่งวางอยู่บนตะแกรงเหล็กแล้วจึงสุมไฟใส่จากทางด้านล่างของตะเกรงครับ โดยมีการเลี้ยงไฟให้ลุกไหม้เฉพาะจุดและไม่ลามไปจุดอื่นโดยมีหยวกกล้วยสลักและเครื่องสดช่วยกำบังเสาและโครงส่วนอื่นเพื่อไม่ให้ไหม้ไฟเร็วเกินไป ครับ ขั้นตอน วิธีการเยอะ พอสมควร เพราะมันเป็นไม้ กับโครงเหล็ก ถ้าไฟลามมันจะไหม้ทั้งพระเมรุ ซึ่งคงไม่ใช่ที่นัก ช่างสมัยโบราณมีวิธีการมากมายครับ ในการเลี้ยงไฟ ไม่ให้ลุกไหม้เร็วเกินไป แต่ก็เผาไหม้จนหมด เช่น งานแทงหยวกเครื่องสดการใช้ ดิน เป็นต้น แต่งานคราวสมเด็จพระศรีฯนั้น มีความยุ่งยากนิดหน่อยเพราะ เรียกว่าใหม่กันทั้งหมดเพราะมีหีบพระศพรวมเข้ามาด้วยทำให้ขนาดของพระจิตตกาฐานใหญ่กว่าปกติมาก ลมแรงมาก เท่าที่จำได้ เห็นว่า ฉากบังพระเพลิงมีความสูงไม่เพียงพอ และพื้นที่ด้านบนของพระเมรุมาศคราวนั้น คับแคบ จึงไม่สะดวกในการถวายพระเพลิงพระบรมศพและใช้เวลานานมากเช่นกัน เพราะว่า หีบพระศพเป็นไม้เนื้อแข็งและหนา ไฟโหมแรง งานออกพระเมรุคราวนี้ จึงเปลี่ยนแปลงการพระราชทานเพลิงเสียใหม่ ทันสมัยกว่าเดิมครับ แต่ก็เสียดายที่พิธีการแบบเดิมคงจะเริ่มหดหายไปตามกาลสมัย เพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัยของโลกปัจจุบัน ผมเองก็ยังนึกภาพไม่ออกนะครับ ว่าถ้าเป็นงานออกพระเมรุมาศที่พระเมรุเป็นทรงมณฑป ไม่มีมุขทั้ง 4 ด้าน แล้วเตาเผาจะเอาไปซ่อนไว้มุมไหนได้มั่ง อิอิ คิดมะออก เดาไม่ถูก


พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ภายในค่ายดารารัศมี ตั้งอยู่อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลดีเด่นทางด้านอาคารอนุรักษ์เมื่อปี 2543 เคยเป็นที่ประทับของพระราชชายาในช่วงสุดท้ายของชีวิต โดยขณะที่ป่วยพระองค์ได้ย้ายจากที่นี่ไปประทับยังคุ้มของเจ้าแก้วนวรัตน์จน สิ้นพระชนม์ที่นั่นปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงสิ่งของและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพระราช ชายาดารารัศมีครอบคลุมเกือบทุกด้าน เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมในวันอังคาร-วันเสาร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 น.หยุดวันอาทิตย์ วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ราคาค่าเข้าชม 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-5329-9175