วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เกร็ดความรู้ เรื่องพิธี "พระศพ"




1.สางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย สางพอเป็นสัญลักษณ์พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ อีกแล้ว เป็นเครื่องหมายว่าหมดประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว และเมื่อหักสางทิ้งไปแล้ว ก็จะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเพณีของประชาชนด้วย ที่แสดงว่าจะไม่ได้ใช้สางนั้นอีกต่อไปแล้วจึงต้องหักทิ้งไป
2.เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพร
ะอิสริยยศที่แตกต่างกัน * ฉัตร 9 ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว * ฉัตร 7 ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี * ฉัตร 5 ชั้น : สมเด็จเจ้าฟ้า ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้นจะเรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" หมายถึงฉัตรขาวที่มีเพดาน 5 ชั้น
ขั้นตอนเมื่อเชิญพระศพมายังพระบรมมหาราชวังแล้ว จะเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้จะเป็นวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระอัครมเหสี และเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง แต่ในระยะหลังจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพ ในการสรงน้ำพระศพ เมื่อสรงน้ำพระศพที่พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้วจึงจะอัญเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การประดิษฐานพระศพตามราชประเพณีอยู่ทางมุขด้านตะวันตก พระโกศสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าจะใช้พระโกศทองใหญ่ และใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด มุขด้านใต้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) ซึ่งพระพุทธประจำพระชนมวารของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์ งานหลังจากนี้ต่อไปจนถึง 100 วัน จะเป็นการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมจะเป็นงานที่ใช้เฉพาะงานหลวง จะสวดทั้งวันทั้งคืน มีการย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย 3.ประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่ 06.00 น. 09.00 น. 12.00 น. ไปจนถึง 24.00 น. เพื่อบอกเวลาว่าครบ 3 ชั่วโมง ก็จะประโคมขึ้นหนึ่งครั้ง ส่วนการสวดพระอภิธรรมจะสวดทั้งวันทั้งคืน แต่จะมีเวลาพักเว้นระยะเป็นช่วงๆ อาจจะหยุดพักสัก 10-15 นาที ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายชั้นสูงขึ้นไป โดยหลักคิดก็จะไม่แตกต่างกับการจัดงานศพของประชาชนทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนา แต่อาจจะเพิ่มรายละเอียด ปริมาณและคุณภาพเข้ามา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพที่จะจัดงานนอกจากนี้จะมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน พิธีกรรมก็จะเหมือนกัน นั่นคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สดับปกรณ์ (บังสุกุล) 4.สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น "เจ้าฟ้า"ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ พระศพ จะแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า พระศพ ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า"พระบรมศพ"ส่วนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตามราชประเพณีจะสร้างพระเมรุในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม เมษายน ทั้งนี้แล้วแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ



พระโกศ คือ โกศข้างในที่เป็นสีทองเกลี้ยง ๆ ทรงกระบอกปากผายมีฝาปิด ยอดไม่แหลมมาก ไม่มีการประดับประดาตกแต่งใด ๆ แต่เท่าที่เคยเห็นภาพพระโกศของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ดูเหมือนว่าแม้ว่าพระโกศชั้นในจะเป็นทองดูไกล ๆ เห็นไม่มีลวดลายอะไร แต่หากดูใกล้ ๆ จะเป็นลายทองคำเป็นรูปหลายเหลี่ยมประกอบกันทั้งองค์ นี่แสดงว่าพระโกศข้างในไม่ได้แค่ปิดทองเกลี้ยง ๆ แต่มีลวดลายด้วยส่วนพระลองทองใหญ่ที่ใช้ในงานสมเด็จกรมหลวงฯ เป็นพระโกศประดับภายนอกชั้นสูงสุดของโกศทั้งมวล ใช้พระโกศนี้ทรงพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายชั้นสูง ในกรณีสมเด็จกรมหลวงฯถือเป็นกรณีพิเศษที่มีการจัดการพระศพสูงสุดเหนือกว่าพระอิสริยยศของพระองค์ ทั้งเครื่องสูงประกอบพระเกียรติยศก็เป็นเครื่องสูงหักทองขวาง (ตามพระยศปกติจะใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด ถ้าผมจำไม่ผิด) แต่ก่อนขั้นตอนการเตรียมจัดการพระบรมศพหรือพระศพหรือกระทั่งศพที่ใส่โกศจะมีการรูดศพด้วย นั่นคือก่อนการออกพระเมรุ จะมีการนำศพ (ใช้คำนี้เป็นกลาง ๆ แล้วกันนะครับ) ออกจากโกศ แล้วนำมาทำการต้มในกระทะใบบัว (ซึ่งก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันว่าเป็นยังไง แต่คิดว่าคงจะขนาดใหญ่ใช่ย่อย) ซึ่งจะมีการใส่ชะลูดซึ่งเป็นไม้หอมลงไปต้มพร้อมกัน ชะลูดจะช่วยกลบกลิ่นศพได้ จากนั้นแล้วจึงแยกกระดูกออกมาใส่โกศไว้ดังเดิม ส่วนชิ้นส่วนเนื้อศพที่หลุดออกจากกระดูกนั้นก็จะเคี่ยวในกระทะจนแห้งแล้วนำไปเผาแยกต่างหาก มาดูที่โกศกันบ้าง จริง ๆ แล้วที่ฐานโกศน่าจะสามารถเปิดออกได้คล้าย ๆ ฝารองข้างล่างและมีรูสำหรับปล่อยบุพโพ (น้ำเหลือง) ให้ไหลลงไปตามท่อสู่ถ้ำบุพโพ และคิดว่าฐานโกศน่าจะมีลักษณะเป็นตาข่ายลวดเพื่อให้ไฟสามารถเผาเข้าไปข้างในขณะเผาได้ ส่วนของถ้ำบุพโพปกติจะมีการใส่เครื่องหอมไว้ด้วย บุพโพนี้จะมีการนำไปเผาพร้อมกับส่วนของศพที่เคี่ยวจนแห้งแล้วขณะเมื่อจะทำการเผาศพในโกศสำหรับเจ้านายนั้นมีการถวายรูดกันเรียบร้อย การเผาจะไม่อยากเย็นอะไร เพราะเหลือเพียงกระดูกสำหรับเผาเท่านั้น ตอนเผาจะมีการเปิดฝาโกศทั้งข้างบนและข้างล่าง ไฟจะลามเข้าไปข้างในได้ ในงานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมศพไม่ได้มีการถวายรูด เพียงแค่มีการถวายพระเพลิงพระบุพโพเท่านั้น การถวายพระเพลิงครั้งนั้นน่าจะใช้เวลานานทีเดียว เพราะพระบรมศพอยู่ภายในพระโกศด้วย เพลิงน่าจะลามเข้าไปได้ยากพอสมควร นี่คือเท่าที่ผมทราบจะครับ หากผิดถูกประการใด ช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ







ตามพระราชฐานะแล้วจะได้พระราชทานพระโกศทองน้อยหรือเปล่าไม่แน่ใจ ไม่ก็เป็นพระโกศกุดั่น อะครับ แต่ในหลวงทรงพระราชทานพระเกียรติสูงสุดจึงมีการถวายพระโกศทองใหญ่ซึ่งเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบันและถวายฉัตร7 ชั้นกางกั้นพระศพ สำหรับพระโกศทองใหญ่เนื่องจากทำจากไม้สักทองเป็นแกนกลางหุ้มด้วยทองคำแท้แผ่เป็นแผ่นทองคำหนาเท่าไหร่จำตัวเลขไม่ได้แล้วหุ้มไม้สักมีการตอกสลักดุนลายประดับรัตนชาติต่างๆ เช่นเพชร และมีเครื่องประกอบอื่นๆ เช่น พุ่มดอกไม้เพชร ดอกไม้เอว และเฟื่องเพชร พู่เงินซึ่งงานออกพระเมรุคราวนี้พู่เงินองค์ นึง หลุดร่วงระหว่างการอัญเชิญโกศบนพระยานมาศ 3 ลำคาน สำหรับที่เจ้าของกระทู้ถามเรื่องการถวายพระเพลิงแบบโบราณทำอย่างไร คือถ้าละเอียดมันมีปรีกย่อยเยอะ มากเอาแบบคร่าวๆนะครับ ฐานของพระจิตตกาฐานนั้นเป็นไม้ครับ โครงหลักเช่นเสา เป็นเหล็ก แล้วเรือนยอดทำเป็นหลังคาลดชั้นเช่นเดียวกับฉัตร ถ้าสังเกตจะเห็นว่า พระโกศไม้จันท์วางอยู่บนฐานพระโกศ(จริงๆก็คือหีบพระศพ) วางบนตะแกรงเหล็กอีกทีหนึ่งเช่นเดียวกับที่เราเห็นเชิงตะกอนชาวบ้านทั่วไป หรืองาน พระราชทานเพลิงศพที่ตั้งแต่งโกศ เช่นเดียวกัน กับที่เราเห็นในข่าวพระราชสำนักครับ เพียงแต่คราวนี้ มีขนาดใหญ่กว่าปกติมากครับ ข้างใต้ของพระโกศก็จะมีท่อนไม้จันท์กลึงให้กลมปิดทองประดับลาย ที่ท่อนไม้นั้น วางขัดกันไว้ใต้ฐานพระโกศเวลาถวายพระเพลิงจริงก็จะแปรท่อนจันท์ในลักษณะเพื่อการสุมไฟแล้วก็ใส่ไฟแล้วก็เผาเลยครับ เพราะพระโกศไม้จันท์โดยปกติแล้วจะถวายไปพร้อมกับพระศพด้วยเลยไม่เก็บไว้ครับ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเอาพระโกศทองใหญ่มาเผานะครับ เพราะ พระโกศทองใหญ่ได้ถูกเปลื้องออกแล้วเหลือแต่พระลองใน(ทำจากเหล็กหรือเงิน แล้วแต่ฐานะ) แล้วจึงประกอบพระโกศจันท์เข้าไปอีกทีครับ เวลาถวายพระเพลิง พระศพจึงอยู่ในพระลองในที่เป็นโลหะปิดทองซึ่งวางอยู่บนตะแกรงเหล็กแล้วจึงสุมไฟใส่จากทางด้านล่างของตะเกรงครับ โดยมีการเลี้ยงไฟให้ลุกไหม้เฉพาะจุดและไม่ลามไปจุดอื่นโดยมีหยวกกล้วยสลักและเครื่องสดช่วยกำบังเสาและโครงส่วนอื่นเพื่อไม่ให้ไหม้ไฟเร็วเกินไป ครับ ขั้นตอน วิธีการเยอะ พอสมควร เพราะมันเป็นไม้ กับโครงเหล็ก ถ้าไฟลามมันจะไหม้ทั้งพระเมรุ ซึ่งคงไม่ใช่ที่นัก ช่างสมัยโบราณมีวิธีการมากมายครับ ในการเลี้ยงไฟ ไม่ให้ลุกไหม้เร็วเกินไป แต่ก็เผาไหม้จนหมด เช่น งานแทงหยวกเครื่องสดการใช้ ดิน เป็นต้น แต่งานคราวสมเด็จพระศรีฯนั้น มีความยุ่งยากนิดหน่อยเพราะ เรียกว่าใหม่กันทั้งหมดเพราะมีหีบพระศพรวมเข้ามาด้วยทำให้ขนาดของพระจิตตกาฐานใหญ่กว่าปกติมาก ลมแรงมาก เท่าที่จำได้ เห็นว่า ฉากบังพระเพลิงมีความสูงไม่เพียงพอ และพื้นที่ด้านบนของพระเมรุมาศคราวนั้น คับแคบ จึงไม่สะดวกในการถวายพระเพลิงพระบรมศพและใช้เวลานานมากเช่นกัน เพราะว่า หีบพระศพเป็นไม้เนื้อแข็งและหนา ไฟโหมแรง งานออกพระเมรุคราวนี้ จึงเปลี่ยนแปลงการพระราชทานเพลิงเสียใหม่ ทันสมัยกว่าเดิมครับ แต่ก็เสียดายที่พิธีการแบบเดิมคงจะเริ่มหดหายไปตามกาลสมัย เพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัยของโลกปัจจุบัน ผมเองก็ยังนึกภาพไม่ออกนะครับ ว่าถ้าเป็นงานออกพระเมรุมาศที่พระเมรุเป็นทรงมณฑป ไม่มีมุขทั้ง 4 ด้าน แล้วเตาเผาจะเอาไปซ่อนไว้มุมไหนได้มั่ง อิอิ คิดมะออก เดาไม่ถูก


พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ภายในค่ายดารารัศมี ตั้งอยู่อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลดีเด่นทางด้านอาคารอนุรักษ์เมื่อปี 2543 เคยเป็นที่ประทับของพระราชชายาในช่วงสุดท้ายของชีวิต โดยขณะที่ป่วยพระองค์ได้ย้ายจากที่นี่ไปประทับยังคุ้มของเจ้าแก้วนวรัตน์จน สิ้นพระชนม์ที่นั่นปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงสิ่งของและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพระราช ชายาดารารัศมีครอบคลุมเกือบทุกด้าน เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมในวันอังคาร-วันเสาร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 น.หยุดวันอาทิตย์ วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ราคาค่าเข้าชม 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-5329-9175